วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่  17  กรกฎาคม  2555


- อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนองานที่ต้องแก้ไข จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้ว
 การเล่น
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก 
Play06
เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเล่น ซึ่งพัฒนามาจากขั้นตอนการเล่น ซึ่งเรียกว่าพฤกรรมการเล่น การเล่นของเด็กอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และความพร้อมของเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการเล่นของเด็กได้ 4 แบบดังนี้
การเล่นเลียนแบบ(Imitation)
เป็นการสะท้อนให้ผู้อื่นเห็น และทราบการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆของเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส แต่ยังไม่อาจจะเข้าใจหรือรู้ความหมายได้ในทันที ในการเล่นเลียนแบบ เด็กมักจะเล่นเรียนแบบคนที่ตนคุ้นเคยและเห็นว่าสำคัญ สถานการณ์หรือสิ่งที่เด็กนำมาเล่น จะแตกต่างกันออกไปอยู่ที่ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
การเล่นสำรวจ(Exploration)
เป็นคุณสมบัติประจำวัยของเด็ก อายุ 3-6 ปี รากฐานของการเล่นแบบสำรวจ คือ มีความสนใจ สงสัย และกระตือรือร้นใคร่รู้ในสิ่งที่อยู่รอบตัว ในการเล่นสำรวจนี้ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ มากกว่าการสัมผัสจับต้อง หรือดูเฉยๆเด็กอาจจับ จี้ไช ของเล่นกลิ้งไปกลิ้งมา ลองดม หรือฟังว่ามีเสียงจากส่วนไหนของเครื่องเล่น และค้นหาที่มาของเสียง ด้วยการถอดออกมาดู การเล่นสำรวจนี้ เป็นพฤติกรรมที่จำนำไปสู่การค้นพบและการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่เด็กไม่เคยเรียนรู้ และมีประสบการณ์มาก่อน
การเล่นทดสอบ(Testing)
เด็กจะอาศัยความรู้ใหม่ที่ได้จากการสำรวจ และความรู้จากประสบการณ์ที่คุ้นเคยเป็นพื้นฐาน สิ่งที่เด็กได้ศึกษาสำรวจแล้ว จะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กนำมาเล่น เพื่อทดสอบดูว่า คุณสมบัตฺของเครื่องเล่นและวิธีการเล่นที่วางไว้จะเป็นไปตามที่เขาคิดหรือไม่ อย่างไร และรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีความสนใจและพยายามทำให้สำเร็จ คุณค่าของการเล่นทดสอบที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล เหตุและผลจะได้จากการสรุปปรากฎการณ์ที่เกอดขึ้นจากการทดสอบ และผู้เล่นได้มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและเป็นการช่วยตัวเองด้วย
การเล่นสร้าง(Construction)
เป็นการเล่นที่ผู้เล่นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะต่างๆ โดยเด็กจะนำเอาประสบการณ์ต่างๆของตนเข้ามารวมกัน การเล่นชนิดนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันขึ้นใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความคิด จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ (Creative Imagination) และเพื่อให้เป้าหมายของการกระทำประสบความสำเร็จ

ที่มา : คู่มือแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเล่นเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิการพัฒนาเด็ก(มพด.)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น