วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

  วันอังคาร ที่ 25 กันยายน 2555

- วันนี้อาจารย์ให้เขียน ข้อดีและข้อจำกัดการใช้ แท็บเล็ต กับเด็กประถมศึกษา


 




ASTVผู้จัดการออนไลน์ - การแจกแท็บเล็ตให้เด็กประถมฯ ถูกมองจากบรมครูอย่าง ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ว่าจะส่งผลปิดกั้นจินตนาการและความสามารถคิดวิเคราะห์ของเด็ก ขณะที่ครูภาษาไทยห่วงกระทบพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ไม่เชื่อส่งเสริมการศึกษา เป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองเท่านั้น
       

       แม้ไม่ต้องอ้างอิงถึงผลวิจัย‘โครงการนำร่องการประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตามแนวนโยบายของรัฐบาล ระยะที่ 1’ ที่ดำเนินการศึกษาโดยทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ซึ่งแถลงผลสรุปต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมว่า การแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 นั้นไม่คุ้ม
      
       แต่ทัศนะจากสามัญสำนึกของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักการศึกษาที่ทุ่มเทความรู้และคุณธรรมให้เด็กๆ มาอย่างยาวนาน ก็กล้าหาญพอที่จะวิพากษ์นโยบายแจกแท็บเล็ตของรัฐบาลได้อย่างตรงไปตรงมา มากกว่าตัวเลขเชิงสถิติและคำอธิบายเชิงหลักการของงานวิจัย 

อีกประการหนึ่ง เมื่อเด็กได้รับแท็บเล็ตไปใช้แล้ว ในครอบครัวที่ผู้ปกครองยากจน เด็กก็สามารถใช้หาความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกิดประโยชน์มากแก่ครอบคัว คือถ้าใช้ให้เกิดประโยชน์ มันก็จะเกิดประโยชน์มาก ส่วนคุณครูเองก็ควรมีการอบรมว่าจะดูแลเด็กอย่างไร ควรจะมีทั้งคู่มือสำหรับผู้ปกครอง สำหรับครู และสำหรับเด็ก ในการใช้แท็บเล็ตอันนี้” 


      ที่มา http://nitade.pkn2.go.th/chaildren%20and%20tablet.html

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555
 -จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอนุบาลสาธิต การทำขนมต้ม




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 11 กันยายน 2555

- กลุ่มดิฉันได้ การทำขนมต้ม 


ขนมต้ม


เครื่องปรุง
ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1/4 ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
น้ำ 3-4 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วย
มะพร้าวทำหน้ากระฉีก 3/4 ถ้วย
มะพร้าวสำหรับคลุก(นึ่ง 5 นาที) 1/4 ถ้วย
เกลือสำหรับคลุกมะพร้าว 1 หยิบมือ


วิธีทำ
แช่ถั่วเขียว 1 1/2 ชั่วโมง นึ่งให้สุก บดละเอียดผสมถั่วบดกับแป้ง นวดให้เข้ากัน ถ้าแห้งเติมน้ำเล็กน้อย นวดจนนุ่มปั้นได้ ปั้นเป็นก้อนกลมขนาด 1 เซนติเมตร
ผสมน้ำตาลปีบกับมะพร้าว 3/4 ถ้วย ใส่น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟกวนจนเหนียวปั้นได้ ปั้นกลมๆ ขนาด 1 เซนติเมตร
แผ่แป้งที่ปั้นไว้ให้แบน ใส่ใส่กระฉีกแล้วห่อให้มิด ต้มในน้ำเดือด พอลอยตัวตักขึ้นคลุกกับมะพร้าวที่ผสมเกลือไว้ แล้วจัดใส่จาน

ที่มา http://thaidessert-food.blogspot.com/2009/05/blog-post_8807.html

- อาจารย์ชี้แนะ เรื่องการเตรียมอุปกรณ์ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย ให้ลงกิจกรรมให้กับเด็กที่สาธิต
     การจัดสถานที่   การเตรียมอุปกรณ์  การทำป้ายชื่อฐานของแต่ละกลุ่ม  ป้ายชื่อน้อง- การลงบล็อกในเว็บ 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 4 กันยายน 2555


- อาจารย์ประเมินและเสนอแนะการทำบอร์ด พร้อมทั้งส่งสมุดเล่มเล็ก








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555


- ส่งบอร์ดของกลุ่ม





วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อบรมการประดิษฐ์ดอกไม้ จัดบอร์ด

 วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555








เรียนชดเชย

 วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555

 - อบรมการประยุกต์ใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย 














บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม  2555

- อาจารย์แจก หนังสือให้กลุ่มละเล่มเกี่ยวกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
                           
                     















บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 10

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555



 -  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  อาจารย์สอนชดเชยวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม  2555



บันทึกการเรียนรู้ครั้ง ที่ 9



 วันอังคาร 7 สิงหาคม 2555
  

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เลื่อนสอนชดเชยวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8



วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555



  - วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค


                    


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 24 กรกฎาคม  2555









วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่  17  กรกฎาคม  2555


- อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนองานที่ต้องแก้ไข จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้ว
 การเล่น
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก 
Play06
เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเล่น ซึ่งพัฒนามาจากขั้นตอนการเล่น ซึ่งเรียกว่าพฤกรรมการเล่น การเล่นของเด็กอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และความพร้อมของเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการเล่นของเด็กได้ 4 แบบดังนี้
การเล่นเลียนแบบ(Imitation)
เป็นการสะท้อนให้ผู้อื่นเห็น และทราบการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆของเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส แต่ยังไม่อาจจะเข้าใจหรือรู้ความหมายได้ในทันที ในการเล่นเลียนแบบ เด็กมักจะเล่นเรียนแบบคนที่ตนคุ้นเคยและเห็นว่าสำคัญ สถานการณ์หรือสิ่งที่เด็กนำมาเล่น จะแตกต่างกันออกไปอยู่ที่ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
การเล่นสำรวจ(Exploration)
เป็นคุณสมบัติประจำวัยของเด็ก อายุ 3-6 ปี รากฐานของการเล่นแบบสำรวจ คือ มีความสนใจ สงสัย และกระตือรือร้นใคร่รู้ในสิ่งที่อยู่รอบตัว ในการเล่นสำรวจนี้ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ มากกว่าการสัมผัสจับต้อง หรือดูเฉยๆเด็กอาจจับ จี้ไช ของเล่นกลิ้งไปกลิ้งมา ลองดม หรือฟังว่ามีเสียงจากส่วนไหนของเครื่องเล่น และค้นหาที่มาของเสียง ด้วยการถอดออกมาดู การเล่นสำรวจนี้ เป็นพฤติกรรมที่จำนำไปสู่การค้นพบและการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่เด็กไม่เคยเรียนรู้ และมีประสบการณ์มาก่อน
การเล่นทดสอบ(Testing)
เด็กจะอาศัยความรู้ใหม่ที่ได้จากการสำรวจ และความรู้จากประสบการณ์ที่คุ้นเคยเป็นพื้นฐาน สิ่งที่เด็กได้ศึกษาสำรวจแล้ว จะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กนำมาเล่น เพื่อทดสอบดูว่า คุณสมบัตฺของเครื่องเล่นและวิธีการเล่นที่วางไว้จะเป็นไปตามที่เขาคิดหรือไม่ อย่างไร และรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีความสนใจและพยายามทำให้สำเร็จ คุณค่าของการเล่นทดสอบที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล เหตุและผลจะได้จากการสรุปปรากฎการณ์ที่เกอดขึ้นจากการทดสอบ และผู้เล่นได้มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและเป็นการช่วยตัวเองด้วย
การเล่นสร้าง(Construction)
เป็นการเล่นที่ผู้เล่นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะต่างๆ โดยเด็กจะนำเอาประสบการณ์ต่างๆของตนเข้ามารวมกัน การเล่นชนิดนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันขึ้นใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความคิด จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ (Creative Imagination) และเพื่อให้เป้าหมายของการกระทำประสบความสำเร็จ

ที่มา : คู่มือแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเล่นเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิการพัฒนาเด็ก(มพด.)





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2555
  
-  นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 2 คน 






                                                


ชื่อของเล่น รถพลังลม
 อุปกรณ์ 
1.     กระดาษแข็ง
2.     แก้วกระดาษ                                     
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     ตะเกียบไม้
5.     เทปกาว
6.     กาวน้ำ
7.     ฝาขวดพลาสติก


วิธีทำ
1.      ตัดหลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกระดาษแข็งเล็กน้อย  ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน  ตะเกียบไม้ 1  คู่  และฝาขวดน้ำ 4  ฝา 
                                        





2.      ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นฐานของรถ อาจจะใช้กระดาษสีลายต่างๆ ติดเพื่อเพิ่มความสวยงาม  แล้วติดตะเกียบไม้ไว้ด้านล่างของฐาน ทั้ง 2 สองข้าง



                                      

3.      ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง 4  ฝา แล้วเจาะรู 


                                       




4.      หลังจากนั้น ใช้ฝาขวดติดปลายตะเกียบไม้ทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกระดาษแข็งที่ทำไว้แล้ว   
                                


5.      ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเล่น


                                       


วิธีเล่นรถพลังลม

ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า   สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุ

                                             
ชื่อของเล่น  ล ลิงไต่ราว


อุปกรณ์
1.     กระดาษแข็ง                           


2.     เชือก
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     กาว หรือ เทปกาวใส
5.     สีไม้






วิธีทำ

1.     วาดรูปลิงใส่กระดาษแข็ง  แล้วระบายสีให้สวยงาม
                                   




2.     ตัดรูปลิงที่วาด
                                               


3.     ตัดหลอดให้มีความยาวเท่ากับตัวลิงที่วาด เพื่อให้เกิดความสมดุล   


                                   


4. ติดหลอดไว้ข้างหลังรูปลิง โดยติดเป็นแนวสามเหลี่ยมมุมฉาก

                                    
                                     



5.     สอดเชือกเข้าไปในหลอดดูดน้ำ แล้วผูกเชือกให้เป็นปม

                                     


 วิธีการเล่น  
ดึงเชือก สลับขึ้นไปมา  เพื่อให้ลิงเลื่อนขึ้นไปข้างบน  เล่นได้   1  คน

ล ลิงไต่ราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อย่างไร

แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด  ซึ่ง ล ลิงไต่ราวก็อาศัยแรงดึงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อเราดึงเชือกขึ้นสลับไปมา ก็จะทำให้ลิงเกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้