วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่  17  กรกฎาคม  2555


- อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนองานที่ต้องแก้ไข จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้ว
 การเล่น
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก 
Play06
เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเล่น ซึ่งพัฒนามาจากขั้นตอนการเล่น ซึ่งเรียกว่าพฤกรรมการเล่น การเล่นของเด็กอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และความพร้อมของเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการเล่นของเด็กได้ 4 แบบดังนี้
การเล่นเลียนแบบ(Imitation)
เป็นการสะท้อนให้ผู้อื่นเห็น และทราบการรับรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆของเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส แต่ยังไม่อาจจะเข้าใจหรือรู้ความหมายได้ในทันที ในการเล่นเลียนแบบ เด็กมักจะเล่นเรียนแบบคนที่ตนคุ้นเคยและเห็นว่าสำคัญ สถานการณ์หรือสิ่งที่เด็กนำมาเล่น จะแตกต่างกันออกไปอยู่ที่ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
การเล่นสำรวจ(Exploration)
เป็นคุณสมบัติประจำวัยของเด็ก อายุ 3-6 ปี รากฐานของการเล่นแบบสำรวจ คือ มีความสนใจ สงสัย และกระตือรือร้นใคร่รู้ในสิ่งที่อยู่รอบตัว ในการเล่นสำรวจนี้ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ มากกว่าการสัมผัสจับต้อง หรือดูเฉยๆเด็กอาจจับ จี้ไช ของเล่นกลิ้งไปกลิ้งมา ลองดม หรือฟังว่ามีเสียงจากส่วนไหนของเครื่องเล่น และค้นหาที่มาของเสียง ด้วยการถอดออกมาดู การเล่นสำรวจนี้ เป็นพฤติกรรมที่จำนำไปสู่การค้นพบและการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่เด็กไม่เคยเรียนรู้ และมีประสบการณ์มาก่อน
การเล่นทดสอบ(Testing)
เด็กจะอาศัยความรู้ใหม่ที่ได้จากการสำรวจ และความรู้จากประสบการณ์ที่คุ้นเคยเป็นพื้นฐาน สิ่งที่เด็กได้ศึกษาสำรวจแล้ว จะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กนำมาเล่น เพื่อทดสอบดูว่า คุณสมบัตฺของเครื่องเล่นและวิธีการเล่นที่วางไว้จะเป็นไปตามที่เขาคิดหรือไม่ อย่างไร และรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีความสนใจและพยายามทำให้สำเร็จ คุณค่าของการเล่นทดสอบที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล เหตุและผลจะได้จากการสรุปปรากฎการณ์ที่เกอดขึ้นจากการทดสอบ และผู้เล่นได้มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและเป็นการช่วยตัวเองด้วย
การเล่นสร้าง(Construction)
เป็นการเล่นที่ผู้เล่นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะต่างๆ โดยเด็กจะนำเอาประสบการณ์ต่างๆของตนเข้ามารวมกัน การเล่นชนิดนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันขึ้นใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความคิด จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ (Creative Imagination) และเพื่อให้เป้าหมายของการกระทำประสบความสำเร็จ

ที่มา : คู่มือแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเล่นเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิการพัฒนาเด็ก(มพด.)





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2555
  
-  นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 2 คน 






                                                


ชื่อของเล่น รถพลังลม
 อุปกรณ์ 
1.     กระดาษแข็ง
2.     แก้วกระดาษ                                     
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     ตะเกียบไม้
5.     เทปกาว
6.     กาวน้ำ
7.     ฝาขวดพลาสติก


วิธีทำ
1.      ตัดหลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกระดาษแข็งเล็กน้อย  ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน  ตะเกียบไม้ 1  คู่  และฝาขวดน้ำ 4  ฝา 
                                        





2.      ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นฐานของรถ อาจจะใช้กระดาษสีลายต่างๆ ติดเพื่อเพิ่มความสวยงาม  แล้วติดตะเกียบไม้ไว้ด้านล่างของฐาน ทั้ง 2 สองข้าง



                                      

3.      ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง 4  ฝา แล้วเจาะรู 


                                       




4.      หลังจากนั้น ใช้ฝาขวดติดปลายตะเกียบไม้ทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกระดาษแข็งที่ทำไว้แล้ว   
                                


5.      ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเล่น


                                       


วิธีเล่นรถพลังลม

ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า   สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุ

                                             
ชื่อของเล่น  ล ลิงไต่ราว


อุปกรณ์
1.     กระดาษแข็ง                           


2.     เชือก
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     กาว หรือ เทปกาวใส
5.     สีไม้






วิธีทำ

1.     วาดรูปลิงใส่กระดาษแข็ง  แล้วระบายสีให้สวยงาม
                                   




2.     ตัดรูปลิงที่วาด
                                               


3.     ตัดหลอดให้มีความยาวเท่ากับตัวลิงที่วาด เพื่อให้เกิดความสมดุล   


                                   


4. ติดหลอดไว้ข้างหลังรูปลิง โดยติดเป็นแนวสามเหลี่ยมมุมฉาก

                                    
                                     



5.     สอดเชือกเข้าไปในหลอดดูดน้ำ แล้วผูกเชือกให้เป็นปม

                                     


 วิธีการเล่น  
ดึงเชือก สลับขึ้นไปมา  เพื่อให้ลิงเลื่อนขึ้นไปข้างบน  เล่นได้   1  คน

ล ลิงไต่ราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อย่างไร

แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด  ซึ่ง ล ลิงไต่ราวก็อาศัยแรงดึงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อเราดึงเชือกขึ้นสลับไปมา ก็จะทำให้ลิงเกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้   



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม  2555

- วันนี้ดูวิดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่อง มหัศจรรย์ของน้า
- ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับ VDO มหัศจรรย์ของน้ำ
- อาจารย์มอบหมายงาน ให้ทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


ที่มาของฝน


ฝนเกิดมาจากอะไร
                                เมฆสีเท่าและสีดำที่เราเห็นบนท้องฟ้า  เป็นเมฆที่ฉ่ำไปด้วยน้ำ   แต่เป็นละอองน้ำเล็กจิ๋วรวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆสีขาวละอองน้ำเล็ก ๆ ที่ว่านี้มีน้อยกว่าเมฆสีดำ  ละอองน้ำในเมฆเย็นและมีน้ำหนัก  อากาศที่อยู่รอบ   อุ่นและเบากว่าดังนั้นละอองน้ำเล็กจิ๋วนี้จึงตกลงต่ำ  ขณะที่ตกลงต่ำละอองน้ำใดมาพบกันก็รวมเข้าด้วยกัน  กลายเป็นละอองน้ำที่ใหญ่ขึ้นๆ  จนกลายเป็นหยดน้ำตกลงมายังพื้นดิน   แม่น้ำ    ลำคลอง  ทะเล   แม้กระทั่งบ้านเรือน   ทุ่งนาและถนน  หยดน้ำบนโลกจะกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ารวมกลุ่มกันเป็นเมฆ  จากเมฆก็กลายเป็นฝนตกลงมา



  • การระเหยเป็นไอ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรง และจากการคายน้ำของพืช(transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration
  • หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นการตกลงมาของน้ำในบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก โดยละอองน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆและในที่สุดกลั่นตัวเป็นฝนตกลงสู่ผิวโลก รวมถึง หิมะ และ ลูกเห็บ
  • การซึม (infiltration) จากน้ำบนพื้นผิวลงสู่ดินเป็นน้ำใต้ดิน อัตราการซึมจะขึ้นอยู่กับประเภทของดิน หิน และ ปัจจัยประกอบอื่นๆ น้ำใต้ดินนั้นจะเคลื่อนตัวช้า และอาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ อาจถูกกักอยู่ภายใต้ชั้นหินเป็นเวลาหลายพันปี โดยปกติแล้วน้ำใต้ดินจะกลับเป็นน้ำที่ผิวดินบนพื้นที่ที่อยู่ระดับต่ำกว่า ยกเว้นในกรณีของบ่อน้ำบาดาล
  • น้ำท่า (runoff) หรือ น้ำไหลผ่านเป็นการไหลของน้ำบนผิวดินไปสู่มหาสมุทร น้ำไหลลงสู่แม่น้ำและไหลไปสู่มหาสมุทรซึ่งอาจจะถูกกักชั่วคราวตาม บึง หรือ ทะเลสาบก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร น้ำบางส่วนกลับกลายเป็นไอก่อนจะไหลกลับลงสู่มหาสมุทร

วัฏจักรของน้ำ 
วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของแข็งของเหลวและ ก๊าซในวัฎจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช. กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกได้เป็น ประเภทคือ การระเหยเป็นไอ (evaporation) , หยาดน้ำฟ้า (precipitation) , การซึม (infiltration) , และ การเกิดน้ำท่า (runoff).










    บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3


    วันอังคารที่ 26มิถุนายน 2555

    - ส่งงานกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย ไข่